"ดร.เบญจรงค์" ชี้แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดที่ 1.5% ถึงกลางปีหน้า จากนั้นจะเป็นช่วงขาขึ้น

loan

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวบรรยายหัวข้อ "ปัจจัยเศรษฐกิจและการลงทุนภาครัฐที่มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์" ว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐบาลในดีต ครั้งแรกเมื่อปี 2552-2553 ลดค่าโอนและจดจำนอง กับหักภาษีเงินได้ไม่เกิน 3 แสนบาท , ค่อมา ปี 2554-255 ให้ธอส. และแบงก์พาณิชย์ให้ซอฟต์โลน 3% เป็นเวลา 5 ปี ล่าสุดคือรัฐบาล คสช.

 

โดยประสิทธิผลในการกระตุ้นการบริโภคของรัฐบาลผ่านสินเชื่อ พบว่า การกระตุ้นการบริโภคผ่านหนี้ครัวเรือน มีผลสูวกว่าถึง 3 เท่า เปรียบเทียบกับการกระตุ้นโดยให้คูปองเงินสดหรือเงินให้ มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาก

โดยปีแรก การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้สินเชื่อดีแน่นอน แต่พอเข้าสู่ปีที่สอง เริ่มมีการชะลอตัว การบริโภคที่ใช้ในอนาคตจะหมดไป โดยจะเห็นผลภายใน 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี นั่นคือในปีที่สองประสิทธิผลจะเหลือ 0.5 เท่า

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีประสบการณ์ตรงจากโครงการรถคันแรก ปี 2012 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 6.8% ตัวเลขค่อนข้างสูง จากนั้นตัวเลขเศรฐกิจก็ชะลอตัวต่อเนื่องสองปี เพียงแต่ข้อควรระวังว่า จากนี้ไป 1 ปีครึ่ง การใช้การบริโภคในอนาคตจะมีผลกระทบเกิดขึ้น

"ในแง่นโยบายที่ออกมา เห็นด้วยเพราะรัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้น แต่ต้องระวังผลกระทบที่จะตามมาภายใน 1 ปีครึ่ง โดยเฉพาะในปี 2560 รัฐบาลควรเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ที่วางแผนไว้ 3 แสนล้านบาท"

ดร.เบญจรงค์กล่าวถึงแนวโน้มดอกเบี้ยปี 2559 ด้วยว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น โดยคาดว่าดอกเบี้ยนโยบายจะถูกตรึงไว้ที่ 1.50% ตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2558

ในขณะที่แนวโน้มปี 2559 อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น โดยอาจถูกปรับขึ้น 2 ครั้ง สู่ระดับ 2.00% และการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/58 เป็นต้นไป

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ตุลาคม 2558