เตรียมตัวรับมือ เกณฑ์การกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ปี 2562

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Top-up Loan) โดยมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป โดยยกเว้น กรณีที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือผ่อนดาวน์ก่อน 15 ต.ค. 2561 ไปดูกันเลยว่ามีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้ออย่างไร และกระทบกับใครบ้าง

การวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ สำหรับที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

สัญญากู้ที่อยู่อาศัยหลังแรก => วางเงินดาวน์ 0%

สัญญากู้ที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 และยังผ่อนหลังแรกไม่หมด

  • หากผ่อนสัญญาแรกมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป => วางเงินดาวน์ 10%

  • หากผ่อนสัญญาแรกยังไม่ถึง 3 ปี => วางเงินดาวน์ 20%

สัญญากู้ที่อยู่อาศัยหลังที่ 3 ขึ้นไป โดยที่ยังผ่อนสัญญาอื่นๆ ไม่หมด => วางเงินดาวน์ 30%

การวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ สำหรับที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป

สัญญากู้ที่อยู่อาศัยหลังแรก และหลังที่ 2 => วางเงินดาวน์ 20%

สัญญากู้ที่อยู่อาศัยหลังที่ 3 เป็นต้นไป => วางเงินดาวน์ 30%

เกี่ยวข้องกับ สินเชื่อ Top-Up อย่างไร?

วงเงินกู้จะนับรวมสินเชื่อ Top-Up ที่ใช้หลักประกันเดียวกัน ยกเว้น สินเชื่อเพื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผู้กู้ (MRTA)* ประกันวินาศภัย และสินเชื่อที่ให้กับธุรกิจ SMEs

* สินเชื่อเพื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผู้กู้ (MRTA: Mortgage Reducing Term Assurance) คือ ประกันชีวิตที่คุ้มครองสินเชื่อของผู้กู้แม้ว่าจะเกิดเหตุต่อชีวิตผู้กู้จนไม่สามารถผ่อนชำระสินเชื่อบ้านต่อได้ บริษัทประกันจะทำหน้าที่ผ่อนชำระหนี้แทนผู้กู้เอง

ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบ?

  1. ผู้กู้ที่ซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป และยังผ่อนหลังแรกไม่หมด

  2. ผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป

แหล่งข้อมูล