พี่น้องทำธุรกิจให้เช่าที่ดินมีโอกาสเสียภาษี 2 เด้ง

การแก้ไขกฎหมายและออกประกาศการเสียภาษีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือคณะบุคคลอาจสร้างความยุ่งยากบ้างสำหรับบางกลุ่ม เช่น พี่น้องที่ได้รับมรดกเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และมีการให้เช่าโดยได้ค่าเช่าเป็นรายปีที่อาจถูกตีความว่าเป็นคณะบุคคลที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% สำหรับค่าเช่าที่ได้ จากนั้นผู้ให้เช่าแต่ละรายต้องนำส่วนแบ่งค่าเช่าไปรวมเป็นรายได้เสียภาษีเงินได้สิ้นปีอีกครั้งได้เสียภาษีเงินได้สิ้นปีอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ไข คือ การระบุไว้ท้ายสัญญาเช่าว่าเป็นการทำสัญญาเช่าที่แบ่งความรับผิดชอบด้านรายได้ออกจากกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ให้เช่าสามารถเลือกที่จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% หรือนำไปคำนวณเป็นภาษีเงินได้ปลายปีก็ได้

สำหรับกรณีที่แนวปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่แพร่หลายจนทำให้ผู้ที่มีชื่อในที่ดินร่วมกันและให้เช่า แต่ไม่มีเจตนาเลี่ยงภาษีต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนนั้น นายประสงค์ กล่าวว่า กรมสรรพากรจะเร่งทำประชาสัมพันธ์ทั้งทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ให้ทราบถึงการระบุเงื่อนไขไว้ในท้ายสัญญาเช่า

ทั้งนี้ ในส่วนของการเปิดบัญชีเงินฝากร่วมกันที่มีข้อกังวลด้านภาระภาษีซ้ำซ้อน โดยสมาคมธนาคารไทยเข้าใจว่าจะเข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หากผู้ฝากได้รับดอกเบี้ย นอกจากจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% แล้ว ยังต้องนำดอกเบี้ยไปคำนวณเพื่อภาษีเงินได้ปลายปีด้วยนั้น

กรมสรรพากรได้ส่งหนังสือถึงสมาคมธนาคารไทยเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าของธนาคารทราบแล้วว่า
- ในกรณีพ่อแม่เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกันให้ลูกหรือสามีเปิดบัญชีเงินฝากร่วมกับภรรยา ดอกเบี้ยที่ได้รับสามารถเลือกใช้สิทธิถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% โดยไม่ต้องนำมาคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี
- ดอกเบี้ยที่ลูกได้รับไม่ต้องนำมาคำนวณรวมในภาษีเงินได้เงินได้ปลายปี และดอกเบี้ยที่ลูกได้รับไม่ต้องนำมาคำนวณรวมในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง เช่นเดียวกับการเปิดบัญชีเงินฝากร่วมของสามีและภรรยา

ที่มา http://www.reic.or.th/
ขอบคุณภาพจาก thaihometown.com